แผนที่ - อำเภอท่าอุเทน (Tha Uthen)

อำเภอท่าอุเทน (Tha Uthen)
ท่าอุเทน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม มีแนวชายแดนติดกับประเทศลาว เป็นอำเภอที่มีความสงบร่มเย็น มีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวลุ่มแม่น้ำโขงที่โดดเด่น ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงของชาวไทญ้อของประเทศไทย

ชาวเมืองท่าอุเทน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ที่เมืองหงสาวดี แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ในปัจจุบัน พ.ศ. 2351  หัวหน้าชาวไทญ้อ ชื่อ ท้าวหม้อและภรรยาชื่อ  นางสุนันทา ได้รวบรวมผู้คนมาสร้างเมืองใหม่บริเวณปากแม่น้ำสงคราม ชื่อเมือง "ไชยสุทธิ์อุตมบุรี" (ปัจจุบันคือตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน) เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทร์ได้ตั้งให้ท้าวหม้อเป็นพระยาหงษาสาวดี  และท้าวเล็กน้องชายท้าวหม้อเป็นอุปฮาดวังหน้า ท้าวหม้อมีบุตรชายคนโตชื่อท้าวโสม

พ.ศ. 2357 ได้สร้างวัดศรีสุนันทามหาอาราม ต่อมาเรียกว่า วัดไตรภูมิ ชึ่งได้พบแผ่นศิลาจารึกในวัดนี้ แปลออกมาได้ความว่า "พระศาสนาพุทธเจ้าล่วงลับไปแล้ว 2357 พรรษา  พระเจ้าหงสาวดี ทั้งสองพี่น้องได้มาตั้งเมืองใหม่ที่นี่ให้ชื่อว่า ไชยสุทธิ์ อุตมบุรี ในปีจอ ฉศก ตรงกับ ปีกาบเล็ด ในเดือน 4 แรม 1 ค่ำ วันอังคาร ภายนอกมีอาญาเจ้าวังหน้าเสนาอำมาตย์สิบร้อยน้อยใหญ่ ภายในมีเจ้าครูพุทธา  และเจ้าชาดาวแก้ว เจ้าซาบา  เจ้าซาสา เจ้าสีธัมมา เจ้าสมเด็จพพุทธา  และพระสงฆ์สามเณรทุกพระองค์พร้อมกันมักใคร่ ตั้งใจไว้ยังพุทธศาสนา  จึงให้นามวัดนี้ว่า " วัดศรีสุนันทามหาอาราม" ตามพุทธบัญญัติสมเด็จพระพุทธองค์เจ้า ซึ่งมีติคตั้งไว้ในพระพุทธศาสนา สำเร็จในปีกดสี  เดือน 5 เพ็ญวันจันทร์  มื้อฮวงมด ขอให้ตามคำมักคำปรารถนาแห่งฝูงเข้าทั้งหลายเทอญ"

พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์เป็นขบถต่อกรุงเทพฯ ได้กวาดต้อนผู้คนไปอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตั้งเมืองขึ้นใหม่ชื่อ เมืองหลวงปุงลิง ทิ้งเมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี เป็นเมืองร้าง ต่อมาได้สวามิภักดิ์ต่อเจ้าแผ่นดินญวนคือ เจ้าฟ้าสามกวนหลวง จึงแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุมเป็นเจ้าเมืองปุงลิงแทน และให้ท้าวจารย์ญาเป็นอุปฮาด ท้าวจันทร์ศรีสุราช (โสม) เป็นราชวงค์ และท้าวปุเป็นราชบุตร

พ.ศ. 2373 พระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยยกทัพมาปราบขบถเจ้าอนุวงศ์ ให้พระยาวิชิตสงครามตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ให้ราชวงศ์ (เสน) จากเมืองเขมราช ท้าวขัตติยะ กรมการเมืองอุบลราชธานี และท้าวสีลา คุมไพร่พลไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี  ซึ่งเป็นเมืองร้าง เมื่อปราบขบถจนราบคาบแล้ว เจ้าพระยาบดินทร์เดชา จึงได้ขอปูนบำเหน็จให้ราชวงศ์ (เสน) เป็นพระไชยราชวงษา ครองเมือง ไชยบุรี ซึ่งเป็นเมืองของชาวไทญ้อเดิม ต่อมาเป็นต้นตระกูลเสนจันทร์ฒิชัย

พ.ศ. 2376 พระยามหาอำมาตย์ (ป้อม อมาตยกุล) เป็นแม่ทัพอยู่ ณ เมืองนครพนม ได้กวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง อันมีกลุ่มชาติพันธ์ต่าง ๆ เช่น ผู้ไท,ข่า,โซ่ ,กะเลิง,แสก,ญ้อ,และโย้ย ให้มาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง  เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เจ้าอนุวงศ์และญวน และได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองหลวงปุงลิง ซึ่งเป็นไทญ้อให้กลับมาด้วย โดยมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองร้างริมฝั่งขวาแม่น้ำโขงเป็นที่ตั้งเมืองใหม่ ในตอนที่ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงมาเมื่อขึ้นเหยียบแผ่นดินใหม่เป็นเวลาย่ำรุ่งพอดี จึงได้ตั้งชื่อเมืองให้คล้องกับนิมิตรหมายที่ดีนี้ว่า เมืองท่าอุเทน แปลว่า เมืองท่าแห่งดวงอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองหลวงปุงลิงเป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรก ต้นตระกูลวดีศิริศักดิ์

พ.ศ. 2409 พระศรีวรราช (ท้าวพระปทุม) ได้ถึงถึงแก่กรรมลง เมืองท่าอุเทนขาดเจ้าเมืองอยู่ 2 ปี จนเมื่อ พ.ศ. 2411  จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระจำเริญพลรบ (เจ้าดวงจันทร์) เป็นพระศรีวรราชคนต่อมา แต่อยู่ได้เพียง 1 ปี จึงกราบถวายบังคับทูลลาออกจากราชการ เนื่องจากมีความผิดหลายเรื่อง

พ.ศ. 2413 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ราชบุตร (พรหมมา) ต้นตระกูลบุพศิริ เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนคนที่ 3 อยู่ได้ 4 ปีก็ถึงแก่กรรม จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งท้าวบุญมาก (บุตรชายท้าวประทุม) เป็นพระศรีวรราช เจ้าเมืองท่าอุเทนและเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ต้นตระกูลกิติศรีวรพันธุ์

พ.ศ. 2442 กระทรวงมหาดไทย ประกาศใช้ข้อบังคับลักษณะการปกครองหัวเมือง ให้ยุบเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ ราชบุตร และกรมการเมืองแบบเก่า ให้เป็นผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมืองแทน ต่อมา พ.ศ. 2450 ได้ยุบเมืองท่าอุเทน เป็นอำเภอท่าอุเทน ขึ้นกับเมืองนครพนมและแต่งตั้งให้ขุนศุภกิจจำนงค์ (จันทิมา พลเตชา) ข้าหลวงประจำเมืองนครพนม เป็นนายอำเภอคนแรก

 
แผนที่ - อำเภอท่าอุเทน (Tha Uthen)
ประเทศ - ไทย
สกุลเงินตรา / Language  
ISO สกุลเงินตรา สัญลักษณ์ เลขนัยสำคัญ
THB บาท (Thai baht) ฿ 2
ISO Language
TH ภาษาไทย (Thai language)
Neighbourhood - ประเทศ  
  •  มาเลเซีย 
  •  ลาว 
  •  สาธารณรัฐเขมร 
  •  เมียนมา